11 วิธีต่อไปนี้ จะช่วยเราประหยัดพลังงานและพลังเงินของเราโดยไม่ต้องลงทุน
หลายวิธีที่จะกล่าวถึงนี้
อาจเป็นวิธีง่ายๆ ที่เราคิดไม่ถึงหรือเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย
แต่ถ้าเราพร้อมใจกันปฏิบัติอย่างถูกต้อง
จะช่วยประหยัดพลังงานและค่าไฟได้อย่างไม่น่าเชื่อ
1. ปิดพัดลมระบายอากาศเมื่อไม่จำเป็น
ในห้องปรับอากาศมักติดตั้งพัดลมระบายอากาศไว้สำหรับระบายอากาศออกจากห้องปรับอากาศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องที่มีกลิ่นหรือควันจากการสูบบุหรี่
เมื่อมีการระบายอากาศออกจากห้อง ก็จะมีอากาศในปริมาณเท่ากันไหลเข้ามาในห้อง
เพื่อทดแทนอากาศส่วนที่ถูกระบายทิ้งออกไป อากาศจากภายนอกที่ไหลเข้ามาแทนที่นี้
ทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อทำให้อากาศร้อนจากภายนอกที่เข้ามาเย็นลงจนเท่ากับอากาศภายในห้อง
พัดลมระบายอากาศนี้มีความจำเป็น หากเป็นห้องที่มีคนใช้งานมาก หรือมีกลิ่นจากเอกสาร, อาหาร
หรือควันบุหรี่ แต่หากเป็นห้องที่มีคนใช้งานไม่มาก และไม่มีกลิ่นรบกวน
ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศ ทั้งนี้เนื่องจาก
โดยธรรมชาติจะมีอากาศรั่วซึมผ่านทางกรอบประตูหน้าต่างอยู่ในปริมาณหนึ่งอยู่แล้ว
ซึ่งเพียงพอสำหรับใช้ในการหายใจ นอกจากนี้ หากเป็นห้องประชุม
ในขณะที่เปิดเครื่องปรับอากาศ เพื่อให้อากาศเย็นก่อนจะมีคนเข้าใช้ห้อง
ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศ ให้รอจนมีคนเข้าใช้ห้องประชุมเป็นจำนวนมากก่อน
จึงเปิดพัดลมระบายอากาศก็ได้
2. ตั้งปิดจอคอมพิวเตอร์เมื่อไม่ใช้งาน
ในสำนักงานสมัยใหม่
มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น
ความร้อนจากเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นภาระมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับเครื่องปรับอากาศ
เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหนึ่งเครื่อง จะปล่อยความร้อนออกมาโดยประมาณ250 วัตต์
โดยส่วนใหญ่จะเป็นความร้อนจากจอมอนิเตอร์ประมาณ 180-200 วัตต์
โดยปกติแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่ได้ถูกใช้งานตลอดเวลา ดังนั้นผู้ผลิตโปรแกรม
จึงมีส่วนที่ให้ผู้ใช้สามารถตั้งโปรแกรมให้จอมอนิเตอร์ปิดโดยอัตโนมัติ
เมื่อไม่ได้สัมผัสคีย์บอร์ด หรือเมาส์ในระยะเวลาหนึ่ง
สำหรับผู้ใช้ Window 98 การตั้งเวลาสามารถทำได้
ดังนี้
1) เลือก My computer
2) เลือก Control Panel
3) เลือก Power Management
4) ตั้งค่า Power schemes เป็น Home/Office Desk
3. ตั้งอุณหภูมิ28
๐C แล้วเปิดพัดลมเสริม
ความเย็นสบาย
หรือความสบายเชิงความร้อน
(Thermal Comfort) เกิดขึ้นได้จากการมีปัจจัยหลัก 3 ประการที่สมดุลกัน คือ
1) อุณหภูมิ
2) ความชื้นสัมพัทธ์
3) ความเร็วลม
หากต้องการระดับความสบายเท่าเดิม
เมื่อปัจจัยหนึ่งเปลี่ยนก็สามารถเปลี่ยนปัจจัยอื่นเป็นการทดแทนได้การตั้งอุณหภูมิในห้องสูงขึ้น
จะประหยัดพลังงานได้ โดยปกติแล้วก็จะตั้งได้สูงสุดประมาณ 25-26 C มิฉะนั้นจะร้อนเกินไป
แต่ถ้าเราเปิดพัดลมช่วยเพิ่มความเร็วลมในห้อง เราจะสามารถตั้งอุณหภูมิได้สูงถึง
28-30 C โดยยังเย็นสบายเหมือนเดิม (มีระดับความสบายเชิงความร้อนเท่ากัน)
โดยจะช่วยประหยัดพลังงานได้มาก
4. นำตู้มาตั้งชิดผนังด้านตะวันออกหรือตะวันตก
ผนังด้านที่มีความร้อนเข้ามามากทีสุดคือ
ด้านตะวันออก และตะวันตก นอกจากความร้อนที่ผ่านผนังเข้ามาแล้ว
เวลาที่แสงอาทิตย์ส่องถูกผนัง จะทำให้ผนังมีอุณหภูมิร้อนขึ้นมาก
และจะแผ่รังสีความร้อนมาสู่ตัวคน ซึ่งจะทำให้คนรู้สึกร้อนขึ้น
แม้อุณหภูมิในห้องจะเท่าเดิม
ในห้องที่มีสภาพนี้จะต้องตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ประมาณ 21-22 C จึงจะรู้สึกเย็นสบาย
แต่เป็นการสิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น การนำตู้ไปตั้งชิดผนัง
จะช่วยป้องกันการแผ่รังสีความร้อนจากผนังได้
ดังนั้นจึงไม่ต้องตั้งอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ในห้องที่ผนังห้องไม่ร้อน
การตั้งอุณหภูมิที่ 25 C ก็จะเย็นสบายเพียงพอ
นอกจากป้องกันการแผ่รังสีความร้อนจากผนังแล้ว การมีตู้ตั้งชิดผนัง
ยังเสมือนว่ามีผนังหนาขึ้น จึงเป็นการช่วยลดความร้อนที่ผ่านผนังเข้ามาได้ด้วย
อย่างไรก็ตาม การนำตู้ไปตั้งติดผนังห้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหาก
ผนังด้านนั้นมีกระจกด้วย
จะทำให้อุณหภูมิภายในตู้สูงกว่าอุณหภูมิห้อง ดังนั้น
จึงควรระมัดระวังกรณีที่สิ่งของภายในตู้ไม่สามารถทนความร้อนได้
5. ปิดแอร์เมื่อไม่ใช้และอย่าเปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้ในขณะปิดแอร์
ระบบปรับอากาศ (แบบน้ำเย็น) ใช้พลังงานประมาณ 1 หน่วยต่อตันต่อชั่วโมง
ตัวอย่างเช่นเครื่องปรับอากาศขนาด 5 ตัน เปิดใช้งาน 4
ชั่วโมง จะใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 1 x 5 x 4 = 20 หน่วย คิดเป็นเงินประมาณ 20 x 3= 60 บาท (ค่าไฟเฉลี่ยประมาณ 3 บาทต่อหน่วย) ในอาคารทั่วไปๆ ค่าไฟฟ้าที่จ่ายไปกว่าครึ่งหนึ่งเป็นค่าไฟของระบบปรับอากาศ
การปิดเครื่องปรับอากาศเมื่อไม่ใช้ห้องปรับอากาศจะสามารถช่วยประหยัดพลังงานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
แต่ในขณะที่ปิดเครื่องปรับอากาศนั้น จะต้องไม่เปิดประตูหรือหน้าต่างทิ้งไว้
มิฉะนั้นความร้อนและความชื้นจากภายนอกจะเข้าไปในห้องปรับอากาศและจะสะสมอยู่ที่
พื้น, ผนัง, เฟอร์นิเจอร์, พรม, กระดาษ, ผ้าม่านฯลฯ
เมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศครั้งต่อไปเครื่องปรับอากาศก็จะต้องทำงานหนักขึ้น
เพื่อดึงเอาความร้อนและความชื้นนี้ออกไป
ซึ่งจะเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานมากกว่าการเปิดเครื่องปรับอากาศอย่างต่อเนื่องเสียอีก
6. ย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นออกนอกห้องปรับอากาศ
อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดจะปล่อยความร้อนออกมา
เท่ากับพลังงานไฟฟ้าที่อุปกรณ์นั้นใช้ ดังนั้น ภาระส่วนหนึ่งที่สำคัญของเครื่องปรับอากาศจึงเกิดจากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
ภายในห้องปรับอากาศ
หากเราสามารถลดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในห้องปรับอากาศโดยการย้ายออกไปตั้งไว้นอกห้องปรับอากาศได้ก็จะเป็นการช่วยประหยัดพลังงานได้
ตัวอย่างอุปกรณ์ที่มักมีอยู่ในห้องปรับอากาศแต่สามารถย้ายออกไปได้ เช่น
1) ตู้เย็น
2) ตู้ทำน้ำเย็น
3) เครื่องถ่ายเอกสาร
4) หม้อต้มน้ำร้อน หรือเครื่องชงกาแฟ
5) ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ
6) หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
7) ฯลฯ
7. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าและไฟแสงสว่างที่ไม่จำเป็น
เครื่องใช้ไฟฟ้าและหลอดไฟฟ้าแสงสว่าง
จะปล่อยความร้อนเข้าสู่ห้องปรับอากาศ เท่ากับพลังงานที่อุปกรณ์ไฟฟ้าและหลอดไฟใช้
และความร้อนนั้นก็จะกลายเป็นภาระของเครื่องปรับอากาศ
และต้องเสียพลังงานในการนำความร้อนนี้ทิ้งออกไปข้างนอกอีก จะเห็นได้ว่า
การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือไฟฟ้าแสงสว่าง ในห้องปรับอากาศจะเป็นการเสียค่าไฟสองต่อ
คือ
- เสียค่าไฟที่อุปกรณ์หรือหลอดไฟใช้
- เสียค่าไฟที่เครื่องปรับอากาศเพื่อนำความร้อนออกไปทิ้งนอกห้อง
ดังนั้น
การปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าและไฟแสงสว่างที่ไม่จำเป็นในห้องปรับอากาศจึงเป็นการประหยัดสองต่อ
คือ ประหยัดที่ตัวอุปกรณ์และประหยัดที่เครื่องปรับอากาศ
8. งดสูบบุหรี่ในห้องปรับอากาศ
เมื่อมีการสูบบุหรี่ในห้องปรับอากาศก็จะต้องเปิดพัดลมระบายอากาศ
เพื่อระบายควันและกลิ่นออกจากห้องการระบายอากาศส่วนหนึ่งออกจากห้อง
ก็จะทำให้มีอากาศจากภายนอกใหลเข้ามาในห้องทดแทนซึ่งจะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้น
หากงดสูบบุหรี่ในห้องปรับอากาศก็ไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศหรือเปิดเพียงช่วงสั้นๆ
ก็เพียงพอซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานได้ นอกจากนี้ การงดสูบบุหรี่ในห้องปรับอากาศ
ยังลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ
จึงทำให้มีฝุ่นละอองไปจับที่คอยล์น้อยเครื่องปรับอากาศ จึงมีประสิทธิภาพสูงอยู่เสมอ
และช่วยยืดระยะเวลาการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศไปได้
9. สวมเสื้อผ้าบางๆ
การสวมเสื้อผ้าบางๆ
จะช่วยให้ร่างกายระบายความร้อนได้ดีขึ้น
จึงสามารถตั้งอุณหภูมิให้สูงขึ้นได้ทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น ดั้งนั้น
จึงควรรณรงค์ให้ผู้ที่ทำงานในห้องปรับอากาศหันมาใส่เสื่อผ้าบางๆ
ไม่ควรใส่สูทเพื่อที่จะตั้งอุณหภูมิให้สูงขึ้นได้
10. ปิดประตูหน้าต่างให้สนิท
หากปิดประตูหรือหน้าต่างไม่สนิท
จะทำให้มีอากาศร้อนชื้นจากภายนอกรั่วใหลเข้าไปในห้องได้ซึ่งจะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้น
และสิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น มาตรการนี้ดูจะเป็นเรื่องง่ายๆ
ที่ไม่น่าจะต้องกล่าวถึงอีกแต่กลับเป็นปัญหาที่พบบ่อย และละเลยกันมากที่สุด
นอกจากการปิดประตูหน้าต่างไม่สนิทรอยรั่วรอบๆ กรอบ
ประตูและหน้าต่างก็เป็นปัญหาที่พบบ่อยๆ
หากพบว่ามีรอยแยกและมีลมรั่วจากภายนอกเข้ามา ก็ควรดำเนินการแก้ไขเพื่อช่วยกันประหยัดพลังงาน
11. ปิดผ้าม่าน
การปิดผ้าม่าน
จะช่วยลดการแผ่รังสีความร้อนจากภายนอกเข้ามาสู่ตัวคนโดยตรงได้
และยังช่วยลดการแผ่รังสีความร้อนจากผิวกระจกมาสู่ตัวคนด้วย
ซึ่งทำให้ไม่ต้องตั้งอุณหภูมิต่ำกว่าปกติเพื่อชดเชยการแผ่รังสีความร้อนจึงช่วยประหยัดพลังงานได้
นอกจากลดการแผ่รังสีความร้อนมาสู่ตัวคนแล้ว
ผ้าม่านยังช่วยสะท้อนความร้อนกลับออกไปภายนอกได้ด้วย (ถึงแม้ว่าจะไม่มากนัก)
จึงเป็นการช่วยประหยัดพลังงานได้อีกทางหนึ่ง